วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โลกของโดเรมอน(ดิงดอง)


- โดราเอมอนหยิบเครื่องมือจากกระเป๋าออกมาแล้วทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,800 ชิ้น
- ทุกวันนี้หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนขายได้รวมกันวันละ 1-2 ล้านเล่มทั่วโลก
- โดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้เกินร้อยล้านเล่ม
- พ.ศ. 2524 โดราเอมอนใช้หนังโทรทัศน์บุกตลาดโลก โดยประเทศแรกคือ ฮ่องกง
- การ์ตูนโทรทัศน์โดราาเอมอนฉายครั้งละ 2 ตอน ตอนละ 15 นาที สร้างกันมาแล้วทั้งหมด 1,700 ตอน สำหรับประเทศไทยมีการฉายตามแบบญี่ปุ่นและแบ่งฉายวันละตอน หลังข่าวภาคค่ำอยู่ระยะหนึ่ง
- ก่อนที่หนังโทรทัศน์โดราเอมอนจะออกอากาศเป็นประจำมาตั้งแต่ปี 2522 เคยถูกนำออกอากาศมาก่อนแล้วเมื่อปี 2516 ระหว่าง วันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน แต่ไม่โด่งดัง เลยไม่ค่อยมีใครบันทึกการฉายครั้งนั้นไว้
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีทั้งหมด 9 ภาษา ในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม ไทย ฯลฯ โดยเฉพาะที่เวียดนาม เริ่มต้นในปี 2536 ด้วยหนังสือการ์ตูนเถื่อนเหมือนบ้านเรา และพอมีฉบับลิขสิทธิ์วางขายในปี 2541 ก็ยังขายดีเหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้น ที่นั่นยังมีมูลนิธิ เพื่อการศึกษาโดราเอมอนด้วย
- พ.ศ. 2525 ในช่วงที่โดราเอมอนกำลังดังสุดขีดในบ้านเรา ฟูจิโมโตะ ฮิโรชิ ได้มีโอกาสเดินทางมาประชาสัมพันธ์หนังจอเงินที่นี่ด้วย แต่เป็นการมาแบบรีบไป - กลับ ใช้เวลาอยู่กรุงเทพฯไม่กี่ชั่วโมง โดยได้เขียนโดราเอมอนให้ดูกันสด ๆ ในรายการอาทิตย์ยิ้ม ของดำรง พุฒ ตาล ที่ช่อง 9 แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องกลับไปทำงานต่อกี่โตเกียว แต่ด้วยความปลื้มใจที่คนไทยรักการ์ตูนตัวนี้เหลือเกิน อ.ฮิโรชิ ได้เก็บนืหนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ฉบับภาษาไทยติดมือกลับไปด้วยหลายเล่ม
- วันที่ 23 สิงหาคม 2525 เวลา 10.00 น. มีการฉายภาพยนตร์โดราเอมอนตอนแรกที่ประเทศไทย ที่โรงภาพยนตร์แถวเมโทร สามย่าน (ปัจจุบันได้ทุบทิ้งไปแล้ว) โดยตอนที่ฉายคือ ตอนไดโนเสาร์ของโนบิตะ แต่ตอนนั้นใช้ชื่อว่า “โดเรมอน ตอนผจญไดโนเสา” (ไม่มีการันต์และใช้โดเรมอน) โดยมีแผ่นแฮนบิลของหนังแจกอีกด้วย โดยด้านหน้าจะเป็นโปสเตอร์ของเรื่องนี้ และด้านหลังเป็นการวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในช่วง ปี 2525
- พ.ศ. 2531 โดราเอมอน ได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดมหึมา แล้ว ปล่อยขึ้นฟ้า ในปีเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นเรียกชื่อบอลลูนลูกนี้ว่า โดราบารูคุน
- พ.ศ. 2535 เกิดโครงการรณรงค์ประหยัดพลังงานนน มีการจัดประกวดแข่งขันรถพลังแสงอาทิตย์ขึ้น เพื่อเรียกความสนใจจากชาวญี่ปุ่น ในงานนี้โดราเอมอนได้รับเลือกให้กลายร่างเป็นรถเมินน้ำมัน ชื่อ โซราเอมอน
- 2 พฤษภาคม 2540 สำนักข่าว CNN รายงานการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่นมีทั้งสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงินให้เลือกสะสม วันแรกที่วางขาย แฟนโดราเอมอนทุกเพศ และทุกวัยมายืนเข้าคิวรอซื้อกันยาวเหยียดตั้งแต่ย่ำรุ่ง
- ใครมีโอกาสไปญี่ปุ่นลองไปนั่งรถไฟโดราเอมอนกันซักหน โดยให้บริการจากอาโอโมริ-ฮาโกดาเตะ วิ่งลอดอุโมงค์ผ่านสถานีใต้น้ำสองสถานีแต่ละโบกี้ใช้ตัวละครแต่ละตัวจากตัวละครในเรื่องมาตกแต่งภายนอกและภายใน และที่พิเศษสุดคือมีโบกี้สำหรับคนคลั่งโดราเอมอนไว้ดูหนังการ์ตูนและเลือกซื้อของที่ระลึกได้ โดยมีคนสวมหัวโดราเอมอนคอยให้การต้อนรับประจำตู้โดยตลอด
- 11 มิถุนายน 2540 ภายหลังฮิโรชิจากไปได้ร่วมปี หนังสือพิมพ์ฮาซาฮิชิมบุกมอบรางวัลเท็กชิกะโอซามุ ครั้งแรกแก่ฟูจิโมโตะ ฮิโรชิ สำหรับผู้สร้างผลงานนวนิยายภาพ(มังกะ) ดีเด่นโดยมีภรรยาของฮิโรชิขึ้นรับเกียรตินี้แทน
- นิตยสารไทม์จัดอันดับ 25 วีรบุรุษและวีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเซีย บุคคลที่ได้รับคัดเลืออกเป็นผู้มีความสามารถจากวงการต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ โดราเอมอน วีรบุรุษ ที่น่ารักที่สุด
- 11 ตุลาคม 2545 มีการฉายหนังโดราเอมอน ตอนตำนานสุริยะกษัตริย์ในไทย เพื่อเฉลิมฉลองที่โดราเอมอนมีอายุครบ 32 ปี โดยประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่ 5 ที่ได้ฉายหนังการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน
- ปี พ.ศ. 2545 การ์ตูนเรื่องโดราเอมอน ได้รับเลือกให้เป็นการ์ตูนสุดยอดประจำภาคพื้นเอเชีย
- สายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ของญี่ปุ่น เคยใช้โดราเอมอนเป็นสัญญลักษณ์บนเครื่องบินด้วย
- บริษัทบันไดจะทำการผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนที่มีความสูง 129.3 ซม. และเคลื่อนไหวได้เองในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)
- ชาวตะวันตกส่วนใหญ่เรียกโดราเอมอนว่า ดิงดอง
- ในอเมริกาเคยฉายเรื่องโดราเอมอน แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร
- ปี 2537 โดราเอมอนฉายทุกวันศุกร์เวลา 17.30 น. เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
- ปี พ.ศ. 2546 โดราเอมอน จะกลับมายิ่งใหญ่บนแผ่นฟิล์ม อีกครั้ง ในชื่อตอนที่ว่า โนบิตะ และอัศวินแดนวิหค

ไม่มีความคิดเห็น: