วันอังคารที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

วันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

วันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ต้นกำเนิด


โดราเอมอนถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊ง ขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิในวัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก (จากตอนพิเศษ "กำเนิดโดราเอมอน ปี 2112") แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้าน
แต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122 ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอทราบว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่ว่าโดราเอมอนหยิบผิดกินยาโศกเศร้าแทน ทำให้โศกเศร้ากว่าเดิม และเริ่มร้องไห้ไม่หยุด จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่าที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดและกลัวหนูเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรัก
นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดรามี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วน จึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ

วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ความนิยม

โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ

เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง

โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี

วันอาทิตย์ที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ระบายสีโดราเอมอน (มีหลายแบบ)






ตัวอย่างขั้นตอนการระบายสีรูปภาพโดราเอมอนสามารถไประบายสีกันได้ที่

http://www.siamdora.com/dora/DoraemonPainting.aspx

วันเสาร์ที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

สัญลักษณ์ O และ X



คอญี่ปุ่นอาจคุ้นเคยและเห็นตัว O และ X กันบ่อย ๆ เอ...แล้ว O กับ X ที่ว่ามันคืออะไรกันหรือ?
เจ้าตัว O กับ X ก็คือสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายในเชิงบวกลบ ที่เห็นชัดเจนก็จากกระดาษข้อสอบของโนบิตะ ตัวเอกของการ์ตูนเรื่องโดเรมอน เวลาโนบิตะมีตัว X กาบนหัวกระดาษทีไร เป็นอันต้องแอบเอาไปซ่อนให้คุณแม่เห็นไม่ได้ทุกที

ตัว X ที่ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายเชิงลบ เช่น การผิดพลาด ใช้การไม่ได้ ชาวญี่ปุ่นเรียกตัว X ว่า Batsu –บัทสึ ที่หมายถึง กากบาท เวลาเป็นภาษาท่าทางชาวญี่ปุ่นก็จะนำมือขวาซ้ายมาไขว้กันทำเป็นสัญลักษณ์ X ซึ่งตัว X ของชาวญี่ปุ่นก็ใช้ไปในทำนองเดียวกับบ้านเราตรงที่สื่อความหมายไปในทางลบ เราคงเห็นกันบ่อยบนสินค้าที่ชำรุด หรือตรงไหนใช้การไม่ได้เขาก็จะมีตัว X กาไว้ อันนี้ก็รวมถึงบนกระดาษข้อสอบด้วย ใครมีตัว X เต็มไปหมดก็คงอยากซ่อนไม่ให้ใครเห็นเหมือนกับโนบิตะ

พูดถึง X แล้วก็ต้องพูดถึง ตัว O กันบ้าง ตัว O เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายตรงข้ามกับตัวแรก ตัว O หมายถึงสิ่งที่ถูกต้อง ถูกแล้ว ใช้การได้ ถ้าเป็นภาษาท่าทางชาวญี่ปุ่นเขาก็จะใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือแตะกันทำตัวเป็นวงกลม สื่อความหมายว่า โอเค (ใครทำบ่อยยกมือขึ้น) ตัว O นี้เรียกว่า maru-มะรุ หมายถึง วงกลม ซึ่งสัญลักษณ์นี้ต่างจากบ้านเราเพราะบ้านเราจะใช้สัญลักษณ์ถูกแทน ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่น วันดีคืนดีโนบิตะเกิดมีตัว O ขึ้นมาบนกระดาษข้อสอบวันนั้นทุกคนจะเกิดอาการทึ่งตะลึงในความสามารถและอาจมีคนสงสัยว่าโนบิตะ ใช้วิธี “โดเรมอนช่วยด้วย” หรือเปล่า แต่ตัวโนบิตะเองก็ยิ้มแก้มปริทุกทีกับตัว O ที่กาหราบนกระดาษข้อสอบ

แต่ถ้ากาตัว O บนกระดาษข้อสอบบ้านเราแล้วล่ะก็ เห็นทีน้ำตาคงตกในไม่มีใครยิ้มออกเหมือนโนบิตะแน่ ๆ !

วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โลกของโดเรมอน(ดิงดอง)


- โดราเอมอนหยิบเครื่องมือจากกระเป๋าออกมาแล้วทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,800 ชิ้น
- ทุกวันนี้หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนขายได้รวมกันวันละ 1-2 ล้านเล่มทั่วโลก
- โดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้เกินร้อยล้านเล่ม
- พ.ศ. 2524 โดราเอมอนใช้หนังโทรทัศน์บุกตลาดโลก โดยประเทศแรกคือ ฮ่องกง
- การ์ตูนโทรทัศน์โดราาเอมอนฉายครั้งละ 2 ตอน ตอนละ 15 นาที สร้างกันมาแล้วทั้งหมด 1,700 ตอน สำหรับประเทศไทยมีการฉายตามแบบญี่ปุ่นและแบ่งฉายวันละตอน หลังข่าวภาคค่ำอยู่ระยะหนึ่ง
- ก่อนที่หนังโทรทัศน์โดราเอมอนจะออกอากาศเป็นประจำมาตั้งแต่ปี 2522 เคยถูกนำออกอากาศมาก่อนแล้วเมื่อปี 2516 ระหว่าง วันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน แต่ไม่โด่งดัง เลยไม่ค่อยมีใครบันทึกการฉายครั้งนั้นไว้
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีทั้งหมด 9 ภาษา ในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม ไทย ฯลฯ โดยเฉพาะที่เวียดนาม เริ่มต้นในปี 2536 ด้วยหนังสือการ์ตูนเถื่อนเหมือนบ้านเรา และพอมีฉบับลิขสิทธิ์วางขายในปี 2541 ก็ยังขายดีเหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้น ที่นั่นยังมีมูลนิธิ เพื่อการศึกษาโดราเอมอนด้วย
- พ.ศ. 2525 ในช่วงที่โดราเอมอนกำลังดังสุดขีดในบ้านเรา ฟูจิโมโตะ ฮิโรชิ ได้มีโอกาสเดินทางมาประชาสัมพันธ์หนังจอเงินที่นี่ด้วย แต่เป็นการมาแบบรีบไป - กลับ ใช้เวลาอยู่กรุงเทพฯไม่กี่ชั่วโมง โดยได้เขียนโดราเอมอนให้ดูกันสด ๆ ในรายการอาทิตย์ยิ้ม ของดำรง พุฒ ตาล ที่ช่อง 9 แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องกลับไปทำงานต่อกี่โตเกียว แต่ด้วยความปลื้มใจที่คนไทยรักการ์ตูนตัวนี้เหลือเกิน อ.ฮิโรชิ ได้เก็บนืหนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ฉบับภาษาไทยติดมือกลับไปด้วยหลายเล่ม
- วันที่ 23 สิงหาคม 2525 เวลา 10.00 น. มีการฉายภาพยนตร์โดราเอมอนตอนแรกที่ประเทศไทย ที่โรงภาพยนตร์แถวเมโทร สามย่าน (ปัจจุบันได้ทุบทิ้งไปแล้ว) โดยตอนที่ฉายคือ ตอนไดโนเสาร์ของโนบิตะ แต่ตอนนั้นใช้ชื่อว่า “โดเรมอน ตอนผจญไดโนเสา” (ไม่มีการันต์และใช้โดเรมอน) โดยมีแผ่นแฮนบิลของหนังแจกอีกด้วย โดยด้านหน้าจะเป็นโปสเตอร์ของเรื่องนี้ และด้านหลังเป็นการวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในช่วง ปี 2525
- พ.ศ. 2531 โดราเอมอน ได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดมหึมา แล้ว ปล่อยขึ้นฟ้า ในปีเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นเรียกชื่อบอลลูนลูกนี้ว่า โดราบารูคุน
- พ.ศ. 2535 เกิดโครงการรณรงค์ประหยัดพลังงานนน มีการจัดประกวดแข่งขันรถพลังแสงอาทิตย์ขึ้น เพื่อเรียกความสนใจจากชาวญี่ปุ่น ในงานนี้โดราเอมอนได้รับเลือกให้กลายร่างเป็นรถเมินน้ำมัน ชื่อ โซราเอมอน
- 2 พฤษภาคม 2540 สำนักข่าว CNN รายงานการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่นมีทั้งสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงินให้เลือกสะสม วันแรกที่วางขาย แฟนโดราเอมอนทุกเพศ และทุกวัยมายืนเข้าคิวรอซื้อกันยาวเหยียดตั้งแต่ย่ำรุ่ง
- ใครมีโอกาสไปญี่ปุ่นลองไปนั่งรถไฟโดราเอมอนกันซักหน โดยให้บริการจากอาโอโมริ-ฮาโกดาเตะ วิ่งลอดอุโมงค์ผ่านสถานีใต้น้ำสองสถานีแต่ละโบกี้ใช้ตัวละครแต่ละตัวจากตัวละครในเรื่องมาตกแต่งภายนอกและภายใน และที่พิเศษสุดคือมีโบกี้สำหรับคนคลั่งโดราเอมอนไว้ดูหนังการ์ตูนและเลือกซื้อของที่ระลึกได้ โดยมีคนสวมหัวโดราเอมอนคอยให้การต้อนรับประจำตู้โดยตลอด
- 11 มิถุนายน 2540 ภายหลังฮิโรชิจากไปได้ร่วมปี หนังสือพิมพ์ฮาซาฮิชิมบุกมอบรางวัลเท็กชิกะโอซามุ ครั้งแรกแก่ฟูจิโมโตะ ฮิโรชิ สำหรับผู้สร้างผลงานนวนิยายภาพ(มังกะ) ดีเด่นโดยมีภรรยาของฮิโรชิขึ้นรับเกียรตินี้แทน
- นิตยสารไทม์จัดอันดับ 25 วีรบุรุษและวีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเซีย บุคคลที่ได้รับคัดเลืออกเป็นผู้มีความสามารถจากวงการต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ โดราเอมอน วีรบุรุษ ที่น่ารักที่สุด
- 11 ตุลาคม 2545 มีการฉายหนังโดราเอมอน ตอนตำนานสุริยะกษัตริย์ในไทย เพื่อเฉลิมฉลองที่โดราเอมอนมีอายุครบ 32 ปี โดยประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศที่ 5 ที่ได้ฉายหนังการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน
- ปี พ.ศ. 2545 การ์ตูนเรื่องโดราเอมอน ได้รับเลือกให้เป็นการ์ตูนสุดยอดประจำภาคพื้นเอเชีย
- สายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ของญี่ปุ่น เคยใช้โดราเอมอนเป็นสัญญลักษณ์บนเครื่องบินด้วย
- บริษัทบันไดจะทำการผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนที่มีความสูง 129.3 ซม. และเคลื่อนไหวได้เองในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)
- ชาวตะวันตกส่วนใหญ่เรียกโดราเอมอนว่า ดิงดอง
- ในอเมริกาเคยฉายเรื่องโดราเอมอน แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร
- ปี 2537 โดราเอมอนฉายทุกวันศุกร์เวลา 17.30 น. เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
- ปี พ.ศ. 2546 โดราเอมอน จะกลับมายิ่งใหญ่บนแผ่นฟิล์ม อีกครั้ง ในชื่อตอนที่ว่า โนบิตะ และอัศวินแดนวิหค